ว่ากันด้วยเรื่อง “โบนัส” สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนรอคอย!!!

นั้นแน่...กำลังจะสิ้นปีผ่านพ้นไปเข้าสู่ปีใหม่กันแล้วเชื่อเลยนะว่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายจะต้องรอคอยเจ้า "โบนัส" กันอยู่แน่นอนเลยช่ะป่ะ เพราะมันคือกำลังใจที่จะทำให้เรามีแรงฮึดสู้งานต่อไปได้ 5555 วันนี้เราจึงของพาทุกท่านมารู้จักกับเจ้าโบนัสกันว่าทำไมถึงต้องมีการจ่ายโบนัสให้กับพนักงาน...


เรื่องของ "โบนัส"
ท่านที่ดูแลงานบริหารงานบุคคล โดยเฉพาะเรื่องของการบริหารค่าจ้างเงินเดือนนั้น เคยทราบเหตุผลเบื้องหลังของการจ่ายโบนัสหรือไม่ครับ ว่าทำไมจึงต้องมีการจ่ายโบนัสให้กับพนักงานด้วย จ่ายเป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียวไม่ได้หรืออย่างไร

โบนัสคืออะไร คำนิยามของโบนัส ก็คือ เงินค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงาน อันเนื่องมาจากบริษัทมีผลประกอบการที่ดี ได้ตามเป้าหมาย หรือพูดง่ายๆ ว่ามีผลกำไร และมีเงินพอที่จะสามารถจ่ายให้กับพนักงานได้ โดยเงินโบนัสนี้โดยหลักการแล้ว เราจะจ่ายให้พนักงานเพื่อตอบแทนผลงานของพนักงานที่ผ่านมา และเพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีแรงจูงใจในการสร้างผลงานที่ดีในปีถัดไปด้วย

ดังนั้นโบนัสจึงเป็นเงินที่มาจากผลกำไรของบริษัท ซึ่งถือว่าเป็นผลงานปีต่อปี การที่บริษัทจ่ายโบนัสให้กับพนักงานโดยใช้ผลงานของพนักงานเป็นเกณฑ์ในการจ่าย จึงเป็นการกระตุ้นให้พนักงานอยากสร้างผลงานที่ดีให้กับบริษัท เพราะถ้าเขาสามารถทำผลงานได้ดีแล้ว เขาก็จะได้ผลตอบแทนตามมาจากผลงานที่ดีของเขา

โดยทั่วไปบริษัทจะไม่จ่ายเงินเดือนพนักงานในอัตราที่สูงมากนัก นโยบายของบริษัทส่วนใหญ่ก็คือ จ่ายให้แข่งขันได้กับตลาดที่เราแข่งขันด้วย และจะจัดให้มีค่าจ้างจูงใจ ซึ่งก็คือโบนัสตามผลงาน เป็นค่าจ้างเสริมเพิ่มเข้าไปในค่าตอบแทนของพนักงาน ซึ่งเงินโบนัสที่ได้มา ก็มาจากเงินกำไรของบริษัท ถ้าบริษัทมีกำไรมาก ก็ตอบแทนให้กับพนักงานในสัดส่วนที่มากขึ้น ก็จะเป็นการกระตุ้นการสร้างผลงานของพนักงานได้ในระดับหนึ่ง และเป็นการตอบแทนผลงานอย่างตรงไปตรงมา กล่าวคือ ถ้าบริษัทมีผลกำไรมาก ก็จ่ายคืนให้กับพนักงานมากหน่อย ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ไม่มี Fixed cost ในรูปของเงินเดือนที่สูง และบริษัทก็สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันได้
การจ่ายโบนัสที่จะเกิดผลมากที่สุดก็คือ จ่ายตามผลงาน และยิ่งถ้าผลงานนั้นสามารถสร้างผลที่เป็นตัวเงินได้จะยิ่งดีมาก หลักของเงินโบนัสจะเป็นหลักที่ภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า Self Funding ก็คือผลงานนั้นสร้างเงินขึ้นมาจำนวนหนึ่ง และบริษัทก็จะนำเอาเงินจำนวนนี้มากแจกจ่ายให้กับพนักงานตามผลงานที่แต่ละคนได้ลงมือสร้างมันขึ้นมา
ตัวอย่างเช่น ทีมขายสามารถสร้างยอดขาย และบริหารต้นทุนขายจนกระทั่งได้กำไรมาก้อนหนึ่ง บริษัทก็จะนำเอาเงินกำไรที่ได้มานี้แบ่งคืนให้กับพนักงานที่ช่วยกันสร้างกำไรนี้ขึ้นมา หรือกรณีการลดต้นทุนก็ใช้ได้ เช่น หน่วยงานที่ไม่ใช่เป็นหน่วยงานหาเงิน แต่สามารถทำเงินได้เช่น หน่วยงานบุคคล บัญชี การเงิน ฯลฯ สร้างโครงการลดต้นทุนในหน่วยงานของตนเองขึ้นมา โดยต้นทุนที่ลดลงไปได้นั้นคิดเป็นเงินได้จำนวน 200,000 บาท บริษัทก็จะนำเงินที่ลดลงไปได้นี้มาจ่ายคืนให้กับพนักงานเพื่อตอบแทนผลงานที่เขาทำได้


Source:  http://www.khaoden.com/2015/12/blog-post_353.html